ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต

วันนี้เราจะพามาส่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของภูเก็ต

เริ่มต้นด้วยด้านเกษตร โภชนาการ อาหารแปรรูป อย่างแรก

ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางหวานพัฒนา เป็นจุดเรียนรู้ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เข้ามาศึกษาภูมิปัญญาการแปรรูปส้มควาย จึงทำให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางหวานพัฒนาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ประเภท และบริการอีก 1 ประเภท ได้แก่

1) ผลิตภัณฑ์แปรรูปส้มควาย ได้แก่ ส้มควายแช่อิ่ม ส้มควายสามรส ส้มควายแก้ว ส้มควายผงกึ่งสำเร็จรูปชงดื่ม ส้มควายแห้ง น้ำส้มควายพร้อมดื่ม ส้มควายหยีและเครื่องดื่มชนิดผงส้มควาย

2) งานหัตถกรรม ได้แก่ การเพ้นท์-การปักผ้าปาเต๊ะ กระเป๋าผ้าปาเต๊ะ

3) ผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารพื้นบ้าน

4) การบริการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวชุมชน และศูนย์การเรียนรู้วิถีมุสลิม

ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือนและผ้าไทย

1.ภาพหนังแกะสลัก

จุดเด่นผลิตภัณฑ์ภาพหนังแกะสลัก เน้นลายไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการอนุรักษ์มรดกของคนไทยเพราะงานแต่ละชิ้นได้ มีการเล่า เรื่องราวในอดีตของคนไทยในภาคใต้เปรียบเสมือนการได้อนุรักษ์พร้อมไปกับการ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวให้ทั่วโลกรับรู้

2.ผ้าบาติก

 เป็นของที่ระลึกสีสันสดใส โดยการวาดลวดลายลง บนผืนผ้า ลงสีแล้วนำมาต้ม นิยมนำมาเป็นของใช้รูปแบบต่างๆ ตัดเสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าคลุม กระเป๋าถือ ของแต่งบ้าน หาซื้อได้ทั่วไป

3.ปลาข้าวสาร

ปลาข้าวสาร มีเอกลักษณ์ คือ เป็นการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น มีมาตรฐานและมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งผลิตในโรงงานที่ได้ผ่านการตรวจรับรองระบบโรงงานมาตรฐานสากล HACCP จากสถาบัน Campdenประเทศอังกฤษ และมี Package ที่สวยงาม เป็นการเพิ่ม ValueAdded ให้กับสินค้า

ด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

ชาสมุนไพรส้มควาย

ส้มควาย” ถือเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง มีผลขนาดใหญ่ ซึ่งผลส้มควายจะเป็นผลสีเขียวลูกใหญ่ มีรสเปรี้ยว มีคุณสมบัติช่วยระบาย ลดไขมัน


ชาวบ้านจะนำผลส้มควายมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปตากแห้งเพื่อไปเก็บไว้ใช้ประกอบอาหารในครัวเรือนเท่านั้น ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางหวานพัฒนาเล็งเห็นประโยชน์จึงนำมาแปรรูปสร้างรายได้ให้กับชุมชน และได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น


ซึ่งผข้อดีของผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถชงร้อนแล้วสามารถชงแบบเย็นได้ด้วย ซึ่งในตลาดทั่วไป จะมี เป็น Bubble Tea ชานมไข่มุก กาแฟ

การแพทย์แผนไทยของภูเก็ต


การแพทย์แผนไทยของภูเก็ต ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้เป็นการแพทย์คู่ขนานในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้วยกรรมวิธีด้านการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด การอบ และการประคบสมุนไพร  ตลอดจนการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา ซึ่งการประคบสมุนไพรเป็นวิธีการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วย ที่อาจต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการนวดรักษา

ด้านเศรษฐกิจชุมชน กองทุนชุมชน องค์กรชุมชนและสวัสดิการชุมชน


เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากมีจุดแข็งในด้านการท่องเที่ยวอยู่หลายประการ ไม่ว่าทรัพยากรท่องเที่ยวที่งดงาม โดดเด่น หลากหลายและมีชื่อเสียงระดับโลก 


ทรัพยากรมนุษย์มีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนา มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและหลากหลาย มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ บริการสิ่งอำนวยความสะดวก มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด


แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อการพัฒนาและใช้ศักยภาพดังกล่าวอันจะนำมาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นน้อยมาก นโยบายด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จึงเน้นการดำเนินการใน ๒ ส่วน 


คือ การสนับสนุน ผลักดันการแปลงแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตของรัฐบาลให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ และ ใช้ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อส่งเสริมพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล ระดับ Premium World Class อันจะนำมา ซึ่งรายได้ของประชาชน และจังหวัดโดยรวม

สมาชิกเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดภูเก็ต

ในจังหวัดภูเก็ตจัดตั้งกองทุนสวัสดิการฯ แล้ว 18 กองทุน  ในพื้นที่ 3 อำเภอ  คือ  อำเภอเมือง  ถลาง  และกะทู้  มีสมาชิกรวมกันกว่า 16,652 คน  เงินกองทุนสะสมกว่า 85.7 ล้านบาท  (ในจำนวนนี้เป็นเงินสมทบจากสมาชิก 41 ล้านบาท  อปท. 20 ล้านบาท  พอช.และรัฐบาล 17 ล้านบาท)  ช่วยเหลือสมาชิกไปแล้ว จำนวน  26,395 คน  จำนวนเงินช่วยเหลือรวมกัน  45.1 ล้านบาทเศ 

ด้านศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี


การอุปสมบท
ชาวภูเก็ตในปัจจุบันจะนิยมรวบรัดพิธีอุปสมบท โดยให้มีการโกนผมนาคในตอนเช้าตรู่ของวันอุปสมบท และทำพิธีอุปสมบทในตอนสาย เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบทในเวลาฉันเพลก็จะเลี้ยงภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์ในวัด เพื่อเป็นการฉลองพระภิกษุที่บวชใหม่ไปพร้อมกัน


การแต่งงาน         
ชาวภูเก็ตจะมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีนร่วมกัน นั่นคือเมื่อมีการสู่ขอและกำหนดวันแต่งงานเรียบร้อยแล้ว ในตอนเช้าของวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะแห่ขันหมากและของหมั้นต่าง ๆ มาบ้านเจ้าสาว พร้อมการจุดประทัดต้อนรับเจ้าบ่าวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาว 


และเมื่อมีการหมั้นเจ้าสาวเรียบร้อยแล้ว เจ้าบ่าวและเจ้า สาวจะต้องไปสักการะเจ้าแม่กวนอิม (ปุดจ้อ) ณ ศาลเจ้าปุดจ้อ และไปไหว้หลวงพ่อแช่ม ณ วัดฉลอง เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวแล้วก็จะเป็นการเลี้ยงฉลองการแต่งงาน ซึ่งก่อนการเลี้ยงฉลอง จะมีการเชิญญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายรับการคาราวะน้ำชาจากเจ้าสาว และเจ้าบ่าว เรียกว่า "ผั่งเต๋" เมื่อเสร็จการเลี้ยงฉลอง จะมีการส่งตัวเจ้าสาวเจ้าบ่าวเข้าเรือนหอตามประเพณีทั่วไป


วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร
อาหารส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดภูเก็ตจะเน้นไปทางด้านอาหารจีน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของ จังหวัดภูเก็ตเอง นอกจากนี้ในการ การรับประทานอาหารเช้า ชาวจังหวัดภูเก็ตจะนิยมรับประทานเป็น ขนม น้ำชา - กาแฟ หรือขนมจีน แทนการรับประทานข้าว อาหารที่มีลักษณะเฉพาะของชาวภูเก็ต ได้แก่ หมี่ฮกเกี้ยน หมี่หุ้นปาฉ่าง หมี่สั่ว กาหรี่ไหมขวัญ โอวต้าว ปอเปี๊ยะสด เสี่ยวโบ๋ย โลบะ ขนมจีน น้ำชุบหยำ น้ำพริกกุ้งเสียบ และ แกงพุงปลา เป็นต้นสำหรับขนมหวาน ได้แก่ อั่งกู้ ( ขนมเต่าสีแดง ) ฮวดโก้ย ( ขนมฟู ) โอเอ๋ว ( คล้ายวุ้น ) ตูโบ้ เกียมโก้ย และอาโป้ง ฯลฯ นอกจากนี้ภูเก็ตมีน้ำจิ้มมะม่วงที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ คล้ายน้ำปลาหวาน แต่ประกอบจากกะปิ น้ำตาล และซีอิ้วดำแทนน้ำปลา เรียกว่า เกลือเคย


การละเล่น     
    การละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต คือ รองเง็ง เป็นการละเล่น หรือ นาฎศิลป์ของชาวเล ที่มีการร่ายรำ และเต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของมือ เท้า ลำตัว ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน ด้วยทำนองและเนื้อร้องของเพลงต้นโยง ที่มีเครื่องดนตรี ไวโอลิน ฆ้อง ฉิ่ง และกรับไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการแต่งกายในการละเล่น รองเง็ง นั้น ชาวเลผู้หญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อลูกไม้แขนยาวสีสรรฉูดฉาด ซึ่งชุดที่ใช้สวมใส่จะมีลักษณะคล้ายชุดยอหยา

ด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชายหาดท้องทะเลป่าตอง ซึ่งจัดขึ้นที่ลานบางลา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต​ เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด


นายแจ็คกี้ เธีย ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าจังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต นำทีมพนักงานบริษัท ภูเก็ตสแควร์ จำกัด จำนวน 30 คน ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เก็บขยะมรสุมบริเวณชายหาดป่าตอง โดยมี องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น