ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวภูเก็ต

ในอดีตคนในจังหวัด ภูเก็ตประกอบอาชีพการทำเหมืองแร่และการเกษตรกรรม แต่เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาพบว่าอาชีพใน จังหวัดภูเก็ตมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การประกอบอาชีพธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม บริษัทนำเที่ยว การให้บริการรถนำเที่ยว รวมถึงพนักงานในสถานบริการเก่ียวกับธุรกิจท่องเท่ียว

การเข้ามาของชาวตะวันตกยังนำสู่การรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าโบสถ์ใน วันอาทิตย์ของผู้นับถือศาสนาคริสต์ การรวมกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจ การเกิดสังคมเฉพาะกลุ่มของ คนท่ีมีครอบครัวกับชาวตะวันตก เป็นต้น 

คนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแตกต่างและแปลกแยกจาก สังคมภูเก็ตรวมทั้งมีวิทยาการสมัยใหม่กว่าคนภูเก็ต ในขณะท่ีคนภูเก็ตมีสังคมที่อยู่กับคนในจังหวัดภูเก็ต หรือคนต่างจังหวัดท่ีเดินทางเข้ามาในจังหวัดเท่านั้น ทำให้การปฏิสัมพันธ์ท่ีเกิดข้ึนระหว่างคนต่างชาติ และ คนต่างถิ่นกับคนภูเก็ตจึงค่อยๆ เกิดการเรียนรู้และการกลืนกลาย

สิ่งเหล่าน้ีส่งผลให้คนภูเก็ตปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง จนทำให้คนภูเก็ตดูดซึมควรมสนใจ ส่ิงใหม่ๆ แล้วละทิ้งวิถีชีวิตด้ังเดิมไป ท้ังหันเหไปตามวัฒนธรรมหรือวิทยาการสมัยใหม่ด้วยความสมัครใจ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและลบในจังหวัดภูเก็ต จนนำมาสู่การเกิดวัฒนธรรมข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต

" ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อําเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุด พบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ํากว่า 3,000 ปี มาแล้ว และได้มีหลักฐานการ 

กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนัก เดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า " แหลมตะโกลา " เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมา ทางใต้กลายเป็นแหลมยาว ๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา 


อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของ เปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผน่ ดินใหญ่


จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ําระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบ ปากพระ ในปัจจุบันสําหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาว ต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดิน ในบริเวณนี้ว่า " แหลมตะโกลา " แล้ว


ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และ แผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่าง พ .ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า " จังซีลอน" นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า " มณิกคราม " หมายถึง “แก้ว” ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ " ภูเก็ต " ซึ่งแปลว่า “เมืองภูเขาแก้ว”


ที่ปรากฎหลัก ฐานชัดเจนในจดหมายของ ท้าวเทพกระษัตรี เมื่อ พ.ศ.2328 ท่ีเขียนถึงกัปตัน ฟรานซิส ไลท์ โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงบุตรชาย คือ พระยา ถลางเทียน เมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ ความว่า “ให้บอกไปแก่เมืองภูเก็จให้แจ้ง ข้าเจ้าจะเอาลงมาให้” และได้มี การเรียกขานเรื่อยมา จนกลายเป็น " ภูเก็ต " 

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิกคราม จัง ซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น