การแสดงประจำท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

วันนี้เราพาไปดูการแสดงประจำท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต คือ การแสดงรองเง็งและการแสดงตันหยง

การแสดงรองเง็ง


รองเง็งเป็นการละเล่น หรือ นาฎศิลป์ของชาวเล ที่มีการร่ายรำ และเต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของมือ เท้า ลำตัว ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน 


ด้วยทำนองและเนื้อร้องของเพลงต้นโยง ที่มีเครื่องดนตรี ไวโอลิน ฆ้อง ฉิ่ง และกรับไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการแต่งกายในการละเล่น รองเง็ง นั้น


ชาวเลผู้หญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะสวมเสื้อลูกไม้แขนยาวสีสรรฉูดฉาดซึ่งชุดที่ใช้สวมใส่จะมีลักษณะคล้ายชุดยอหยา

การแสดงตันหยง



การแสดง “ตันหยง” หรือ “เพลงตันหยง” หรือ “หล้อแหง็งตันหยง” เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมภาคใต้แถบชายฝั่งทะเลตะวันตก


นิยมเล่นทั้ง ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธในจังหวัด กระบี่ ตรัง พังงา และภูเก็ต การแสดงเป็นศิลปะที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้กับวัฒนธรรมพื้นบ้านของมลายู ทั้งยังมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างมาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น